วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บทความวิชาการ Bologna Process

บทความวิชาการ Bologna Process

ข้อมูลจาก : EU : Europe Touch./ ทีมงาน Europe Watch 
สงวนลิขสิทธิ์ กรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพ 10400


สรุปความนำไปใช้ประโยชน์
“พื้นที่อุดมศึกษายุโรป“ (European Higher Education Area) เกิดขึ้นภายในปพ.ศ.2553 จากการปฎิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ การปฏิรูปดังกล่าวเรียกว่า  “กระบวนการโบโลญญา” Bologna Process ซึ่งต่อมาประเทศในยุโรป 29 ประเทศลงนามร่วมกันเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2542

การปฏิรูปการศึกษา เพื่อนให้เกิดการ Chang Share and Care หมายถึง การปรับเรื่องระดับการศึกษาให้เป็น Undergraduates and Graduate เพื่อให้ 29 ประเทศของยุโรปที่ร่วมลงนาม มีความสอดคล้องกัน และ การปรับระบบหน่วยกิตEuropean Credit Transfer System (ECTS)

ข้อดีที่เกิดขึ้นสำหรับนักศึกษาระดับอุมศึกษาจากประเทศไทยคือ การเข้าเรียนในยุโรป โดยการเทียบวุฒิได้ง่ายขึ้น เรียนต่อในระดับสูงขึ้นได้ทันที ไม่ต้องเรียนซำ้ปริญญาเดิม เพื่อตั้งต้นใหม่ในยุโรป

สนธิสัญญา Bologna จึงเปรียบเสมือนนโยบายหลักที่สอดคล้องทั้งสังคมเศรษฐกิจและการเมืองรวมถึงตลาดทางการศึกษา ความร่วมมือดังกล่าว จึงเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 โดยทุกๆ 2 ปี จะมีการจัดประชุมร่วมกันเพื่อติดตามผลและสรุปความก้าวหน้าในการปฏิรูประบบ อุดมศึกษาในแต่ละประเทศ มีเป้าหมายระยะยาวถึงปี 2563





สรุปความ :  เนื้อหาที่จะนำไปใช้โดย Ms.Sukontaroat K.




วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ลักษณะการดำเนินความสัมพันธ์ทางการฑูต

ลักษณะการดำเนินความสัมพันธ์ทางการฑูต

ลักษณะการฑูตแบบใหม่

ลักษณะการฑูตแบบใหม่

Research project of Administration Relationship educational Art&Design International Style Modern

Research project of Administration Relationship educational
Art&Design  International Style Modern

งานวิจัย การบริหารงานวิชาการ-วิเทศน์สัมพันธ์อุดมศึกษาศิลปะและการออกแบบแนวสมัยใหม่

... ทำอย่างไร ?
  1. ขั้นตอนในการทำวิจัย
  2. เครื่องมือในการวิจัย
  3. การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
  4. การวิเคราะห์ข้อมูล
.... เขียนอย่างไร ?
  1. บทนำ
  2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  3. วิธีดำเนินงานวิจัย
  4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
  5. บทสรุปและข้อเสนอแนะ
  6. การอ้างอิงเอกสาร
แรงบันดาลใจจากการอ่านหนังสือเรื่อง วิจัยไม่ใช้เรื่องยาก ของ นคร  เสรีษ์ และ ภรณี  ดีราษกร์วิเศษ

........................................................................................................................

Ref : https://www.youtube.com/watch?v=NVCDnUZqLzU#


Ref : @ University Sorbonne. Paris / France /
Group of PhD Students from Administration Educational Silpakorn University 2014


วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

PPP Design Education International

การฑูต : ความหมายและความสำคัญ



ในปัจจุบันนี้ มีการใช้คำว่าการฑูตในหลายความหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ คำว่าการฑูต หรือ Diplomacy หมายถึง



  1. นโยบายต่างประเทศ Policy
  2. การเจรจา 
  3. กระบวนการและกลไกในการเจรจา Process
  4. เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ Content
  5. ทักษะหรือความเชี่ยวชาญในการเจรจาระหว่างประเทศ Skill
     อย่างไรก็ตาม  คำว่า  Diplomacy ตามนิยามความหมายใน Oxford English Dictionary หมายถึงการจัดการในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยวิถีทางการเจรจา ซึ่งดำเนินการโดยนักการฑูตและคณะฑูตานุฑูต
    ในทัศนะของเฮนรี่  คิสซิงเจอร์ ( Henry  Kissinger ) นักการฑูตชาวอเมริกันและเคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพจากผลงานด้านการฑูตของเขามาแล้วได้กล่าวไว้ว่า  ...การฑูตคือศิลปในการสร้างสายสัมพันธ์โยงรัฐต่างๆ เข้าด้วยกัน  โดยเลือกใช้การเจรจามากกว่าการใช้กำลัง  หรือการที่รัฐต่างๆ  มาหารือกัน  เพื่อทำให้เกิดการปรารถนาของรัฐต่างๆ บรรลุผลไปตามลำดับ... 

Ref.https://www.youtube.com/watch?v=98RxLXATfGk (เฮนรี่  คิสซิงเจอร์ ( Henry  Kissinger ))

Henry Kissinger on Foreign Policy and the Art of Diplomacy: Overview of History (1994)



Ref.https://www.youtube.com/watch?v=3fH8TrO0kO0 (เฮนรี่  คิสซิงเจอร์ ( Henry  Kissinger ))

Henry Kissinger discusses global risks in 2014


    หากเรามองไปที่ทวีปยุโรปซึ่งประกอบด้วยชนหลายกลุ่มเชื้อชาติ  และมีประเพณีในการปฏิสัมพันธ์ต่อกันมานานนับพันปี  ทัศนะของชาวยุโรปผู้ซึ่งคิดค้นรูปแบบของระบบการฑูต อันเป็นแม่แบบของการฑูตในปัจจุบันจึงน่าสนใจอย่างยิ่ง  ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 สมาคมราชบัณฑิตแห่งฝรั่งเศส ( Academie francaise ) ได้ให้คำจำกัดความของการฑูตไว้ว่า ...เป็นศิลปและการดำเนินการเจราในธุรกิจที่สำคัญ... นอกจากนี้ในปทานุกรม Grand Larousse ได้ให้ความหมายของการฑูตไว้ว่า
  1. ความรู้ Knowledge และการปฏิบัติในทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  และการนำเสนอรายงาน Presentation & Report ระหว่างรัฐบาลทั้งหลาย
  2. วิถีทาง หน้าที่ และวิธีการทำงานของผู้ที่เป็นผู้แทนประเทศใดประเทศหนึ่ง  ที่ไปปฏิบัติอยู่ในต่างประเทศหรือในการเจรจาระหว่างประเทศ
         มักซ์  เวเบอร์ ( Max  Weber ) นักวิชาการด้านการเมืองชาวเยอรมันผู้มีชื่อเสียง  ได้กล่าวถึงการฑูต คือ  การดำเนินนโยบายต่างประเทศรูปแบบหนึ่งของรัฐ  โดยคณะบุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งเพื่อการนี้...
        ดังนั้นอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า  การฑูต  คือการปฏิบัติให้บรรลุผลตามเป้าหมาย  และปกป้องผลประโยชน์ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  โดยใช้การสื่อสารชนิดต่างๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  โดยการเจรจาตกลงกันระหว่างนิติบุคคลตามกฏหมายระหว่างประเทศ  ซึ่งมิได้หมายถึงประเทศเอกราชต่างๆเท่านั้น  หากหมายรวมถึงองค์การค้าระหว่างประเทศ  เช่น กาชาดสากลด้วย
      แม้ว่านักชีววิทยาได้จัดมนุษย์เป็นสัตว์โลกประเภทหนึ่ง  หากแต่นักมานุษยวิทยาและนักโบราณคดีได้ทำการวิจัยและสรุปว่า  สิ่งสำคัญที่ทำให้พัฒนาการของมนุษย์แยกจากสัตว์โลกอื่นอย่างเด็กขาดได้แก่  การรู้จักใช้ไฟและการสื่อสารกันโดยการใช้ภาษา  การที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคมจึงดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน  เป็นประชาคมหรือชุมชน  มีการแบ่งงานและหน้าที่กันทำภายในชุมชนของตน  ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอาศัยการสื่อสารกันเป็นสำคัญ

(จากหนังสือประวัติการฑูตยุโรปตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการฯ : บทที่1 การฑูต - ความหมายและความสำคัญ )